การตรวจคัดกรองพันธุกรรมตัวอ่อนก่อนฝังตัว
เตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์
เพื่อความปลอดภัยของคุณและลูกน้อยในอนาคต ที่ GenPrime เรามีบริการตรวจคัดกรองร่างกายแบบเบื้องต้น จนถึงวินิจฉัยทางพันธุกรรมโดยละเอียด
การตรวจพันธุกรรมของตัวอ่อน เพื่อลูกน้อยในอนาคต
คือการตรวจคัดกรองตัวอ่อนก่อนการย้ายเข้าสู่โพรงมดลูก เพื่อพิจารณาว่าตัวอ่อนมีจำนวนโครโมโซมครบทั้ง 23 คู่หรือไม่ เพื่อป้องกันความเสี่ยงของโรคต่างๆ ที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม ไม่ว่าจะจำนวนโครโมโซมเกิน หรือขาดไป เช่น ดาวน์ซินโดรม เทอร์เนอร์ซินโดรม หรือเอ็ดเวิร์ดซินโดรม
การตรวจโครโมโซมด้วยวิธี PGT-A จะตรวจโครโมโซมทั้ง 23 คู่ รวมถึงโครโมโซม X และ Y เพื่อคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกี่ยวกับเพศด้วย
ซึ่งก็เป็นการเปิดเผยเพศของตัวอ่อนไปด้วย เพราะถ้าเป็นเพศหญิงจะมีโครโมโซมเป็น XX ส่วนเพศชายจะเป็นโครโมโซม XY
PGT-M เป็นการคัดกรองตัวอ่อนที่เกิดขึ้นจากการปฎิสนธิภายนอก (IVF) ก่อนทำการย้ายเข้าสู่โพรงมดลูก โดยมีวัตถุประสงค์ในการตรวจคัดกรองการกลายพันธุ์ของยีนเดี่ยว เพื่อป้องกันโรคบางอย่าง เช่น โรคฮันติงตันส์ โรคซิสติกไฟโบรซิส โรคธาลัสซีเมีย โรคกล้ามเนื้อเสื่อม เป็นต้น
การตรวจ PGT เกิดขึ้นช่วงไหนในระหว่างการทำ IVF
หลังจากการกระตุ้น เซลล์ไข่จะถูกเก็บจากคุณหรือผู้บริจาคไข่
เมื่อตัวอ่อนพัฒนาเข้าสู่ระยะบลาสโตซิสต์ (อายุ 5 หรือ 6 วัน) จะมีการดึงกลุ่มเซลล์เล็กๆ ออกจากตัวอ่อน ก่อนนำตัวอ่อนไปแช่แข็ง
เซลล์อสุจิ และเซลล์ไข่ จะถูกปฏิสนธิในห้องปฏิบัติการ เพื่อให้เกิดเป็นตัวอ่อน
เซลล์จะถูกเก็บและส่งไปทำการทดสอบทางพันธุกรรม ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 - 3 สัปดาห์ สำหรับการเตรียมผลตรวจ
ด้วยวิธี PGT ตัวอ่อนที่มีความสมบูรณ์แข็งแรงและไม่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม จะได้รับการพิจารณาย้ายเข้าสู่โพรงมดลูก เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ต่อไป
บริการอื่นๆ ของเรา
เก็บเซลล์ไข่ ไว้ใช้ในอนาคต
การแช่แข็งเซลล์ไข่ของคุณเอาไว้ เพื่อรักษาคุณภาพและปริมาณของไข่ที่คุณมีอยู่ และนำมาใช้เมื่อวันที่คุณพร้อม
การแช่แข็งเซลล์อสุจิ
การรักษาทางการแพทย์บางอย่าง หรือกิจกรรม งานอดิเรกของคุณ อาจะส่งผลต่อร่างกายได้ ดังนั้นการเก็บแช่แข็งอสุจิเอาไว้ จะช่วยให้คุณเป็นคุณพ่อได้สมใจ
เก็บเนื้อเยื่อของรังไข่
ทางเลือกใหม่สำหรับผู้หญิงที่มีปัญหาด้านสุขภาพ ที่อาจเป็นอันตรายต่อภาวะเจริญพันธุ์ในระยะยาว